บทที 1 ระบบสารสนเทศ

1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน



              เทคโนโลยี
                        
     เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
 
      ผมนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานที่ทำในปัจจุบันดังนี้คับ
  • ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว
  • ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
  • ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
             สารสนเทศ
 
        สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น

      ผมนำความรู้เรื่องสารสนเทศมาใช้กับงานที่ทำในปัจจุบันดังนี้คับ
  • เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้
  • ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ
  • มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด
  • มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้
  • สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้

เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
       เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
      ผมนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานที่ทำในปัจจุบันดังนี้คับ
 
  • การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น 
  •  เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล 
  •  สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน มีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล 
  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน 
  • การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก 
  • เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
             ข้อมูล
 
                  ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
 
 ผมนำข้อมูลมาใช้กับงานที่ทำในปัจจุบันดังนี้คับ
 
         ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
 
  • การรับรู้ข้อมูลทางตา ได้แก่ การมองเห็น เช่นข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น
  • การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
  • การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
  • การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น
  • การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น
 
           ฐานความรู้
 
                  ฐานความรู้ หมายถึง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เรื่องต่างๆ การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดผ่านประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ของเราซึ่งประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น เเละกาย รับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเข้ามาไว้ และอาศัย “ ใจ ”ของเราในการเสริมสร้างเป็นฐานความรู้ขึ้น เกิดเป็นความรู้ของ “ เรา ” ที่มีองค์ความรู้ อันเป็น “ มรดกเราเอง ” เป็นของเราเองเพื่อเป็นการพัฒนาเราเอง
 
  ผมนำฐานความรู้มาใช้กับงานที่ทำในปัจจุบันดังนี้คับ
 
         จากความรู้อันเป็นส่วนผสมของการอ่าน-ฟัง ทักษะ ประสบการณ์ และการประมวลความรู้ของเรา สามารถพัฒนาเกิดปัญญา อันเป็นความรอบรู้ ที่มีสติ สมาธิ เป็นพื้นฐาน และสามารถใช้ประโยชน์ต่อการทำงานของเราได้ต่อไป
 
2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

          ปัจจุบันมีการกล่าวถึงวิธีการรื้อปรับระบบองค์กรใหม่ ในรูปแบบที่เรียกว่า business reinvention กล่าวคือ การปรับปรุงและสร้างค์องค์กรใหม่ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กร
สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เราแบ่งระดับสารสนเทศออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับส่วนบุคคล ระดับกลุ่มหรือแผนก ระดับองค์กรและระดับระหว่างองค์กร โดยทุกระดับจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อประกอบกัน และให้ได้ประโยชน์จากสารสนเทศ ประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ชั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฏระเบียบต่าง ๆ และตัวบุคลากรเอง

         ศูนย์สารสนเทศขององค์กร คือหน่วยงานที่จะบริหารและจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ที่ต้องลงทุนทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ศูนย์สารสนเทศขององค์กรตามแนวความคิดใหม่ จึงต้องประสานกับธรรมชาติของการทำงานขององค์กรที่มีบุคลากรเป็นแกนนำ เพราะบุคลากรทุกคนย่อมเป็นผู้ใช้สารสนเทศ และยังต้องมองเลยไปเป็นระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระดับระหว่างองค์กร การทำงานในทุกระดับจะต้องประสานการใช้ประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้สูงสุด

ลักษณะและจุดมุ่งหมายของศูนย์สารสนเทศ

        คอมพิวเตอร์มีการพัฒนาการมาจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง โดยการใช้ประโยชน์จึงเริ่มจากการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันในอดีต มีศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาพีซี แนวคิดจึงเริ่มจากการพัฒฒนาให้ระบบใช้งานส่วนตัว และต่อมาพัฒนาเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน ดังนี้นลักษณะของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีลักษณะตามสภาพของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่าย รูปแบบการช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีรูปแบบดังนี้

1.การใช้แบบเครื่องหลัก (Host base) ในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเมนเฟรม ซึ่งมีการจัดการฐานข้อมูลอยู่ส่วนกลางและแบ่งการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์หลักเป็นเครื่องที่รวมทรัพยากรทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง ผู้ใช้เพียงแต่ต่อสายออนไลน์ และใช้กำลังการคำนวณทั้งหมดจากเครื่องหลัก สถานีปลายทางจึงเป็นเพียงแค่เทอร์มินัลเท่านั้น
 
2.การใช้งานแบบเครื่องเดี่ยว (stand alone) เมื่อมีการพัฒนาพีซีให้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จึงมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สนับสนุนพีซีให้ช่วยงานระดับบุคคล ดังนั้นการประยุกต์ใช้งานระดับบุคคลจึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์พื้นฐนที่เรียกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้งานได้มาก เช่น ใช้ช่วยในการพิมพ์เอกสารหรือเรียกว่า เวิร์ดโปรเซสเซอร์ ใช้คำนวณบนตารางที่เรียกว่า สเปรตซีต ใช้ในการเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลขนาดเล็ก ใช้เพื่อนำเสนอผลงาน

3.ระบบแลนและไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อพีซีมีขีดความสามารถสูงขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีได้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกัน และใช้งานร่วมกัน ระบบแลนที่ใช้จึงเริ่มจากการสนับสนุนงานระดับกลุ่ม ระดับแผนกที่มีการทำงานร่วมกัน ใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน เช่น ใช้ไฟล์ใช้ข้อมูล ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ตลอดจนเครื่องพิมพ์ร่วมกัน สภาพการทำงานบนเลนส่วนหนึ่งมีลักษณะการทำงานแบบ ไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ กล่าวคือมีสถานีบริการกลางที่ให้บริการร่วมกันทั้งกลุ่ม โดยผู้ใช้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีของตนเองเชื่อมโยงกับเครือข่ายแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เรียกว่า ไคลแอนด์ ส่วนสถานีบริการกลางเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ เช่น ถ้ามีระบบฐานข้อมูลกลางที่ให้บริการกลางร่วมกันก็เรียกว่า ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องไคลแอนต์เรียกค้นข้อมูลข่าวสารจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได ้รูปแบบการทำงานแบบนี้จึงเป็นการลดขนาดของเซิร์ฟเวอร์ลงจากโฮสเบส เพราะสถานีย่อยคือไคลแอนต์สามารถช่วยดำเนินการบางอย่างเองได้ และการทำงานในระดับไคลแอนต์ที่สำคัญคือ มีส่วนช่วยในการติดต่อกับผู้ใช้ที่จะแสดงผลแบบกราฟฟิก

4.การเชื่อมต่อแลนเป็นอินทราเน็ต เมื่อนำเวอร์กกรุ๊ปหรือเครือข่ายแลนย่อย ๆ หลายเครือข่ายต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายขององค์กร มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารหลักที่เรียกว่าแบคโบน (backbone) เครือข่ายนี้จึงเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร ซึ่งอาจเรียกว่าเอ็นเตอร์ไพรสเน็ตเวอร์กหรืออินทราเน็ต ในระดับองค์กรจึงมีการบริหารจัดการเครือข่ายขององค์กร มีหน่วยงานดูแลเครือข่ายกลาง และดูแลทรัพยากรที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร ลักษณะการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอาจข้ามออกไปยังหน่วยงานที่อยู่ห่างไกล โดยเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายสาธารณะแบบแวน (wan) สภาพการทำงานภายในองค์กรยังมีลักษณะการใช้ทรัพยากรร่วมกันมีสถานีบริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้ใช้พีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่ายเชื่อมโยงเรียกใช้บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ภายในองค์กรอาจมีฐานข้อมูลเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางหรืออาจจะมีหลายเซิร์ฟเวอร์กระจายกันอยู่ก็ได้ ลักษณะการใช้งานบนเครือข่ายจึงสนับสนุนการทำงานตั้งแต่งานในระดับบุคคลที่ใช้พีซีของตนเองเป็นหลัก เชื่อมต่อใช้งานร่วมกันเป็นเครือข่ายในแผนก ในกลุ่มงานของตน ใช้สถานทีบริการเซิร์ฟเวอร์ในแผนกของตน และยังเชื่อมโยงกับองค์กรใช้งานในลักษณะร่วมกับส่วนกลางขององค์กร ดังนั้นทุกคนในองค์กรที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจึงสามารถเลือกใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ข้อมูลข่าวสารทั้งของกลุ่มและขององค์กรได้
      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้อีกด้วย ในเชิงเทคนิคนั้นระบบสารสนเทศระดับองค์กรจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ มีการใช้เครือข่ายแลนเชื่อมโยงเครื่องมือพื้นฐาน อีกประการหนึ่งของระบบข้อมูลข่าวสาร คือระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สำคัญในการช่วยดูแลระบบข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ

5.การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การบริหารและการจัดการระบบสารสนเทศสมัยใหม่ ยังเน้นให้เกิดการทำงานแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (eBusiness) และมีการค้าขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าางองค์กรเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
      การเชื่อมโยงระหว่างกันในปัจจุบัน เน้นการใช้เส้นทางร่วมแบบสาธารณะ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ต ลักษณะการเชื่อมโยงออกสู่ภายนอก จึงมีลักษณะที่ต้องการสร้างวงจรเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร หรือการวิ่งผ่านเส้นทางสาธารณะร่วมกัน
       อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายสากลที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยขององค์กรจำนวนมหาศาลเข้าด้วยกัน ทำให้ทุกองค์กรที่เชื่อมโยงเข้าถึงอินเทอร์เน็ตติดต่อถึงกันได้ และหากถ้ามีองค์กรใดสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงต่อออกไปภายนอก โดยเน้นการทำงานในขอบเขตจำกัด เช่น ให้บริการลูกค้าติดต่อเข้ามาได้ และไม่สามารถออกไปนอกเครือข่ายอย่างอิสระเหมือนอินเทอร์เน็ต เราก็เรียกว่า เอ็กซ์ทราเน็ต

ศูนย์สารสนเทศกับองค์กร
       ในองค์กรมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลายระดับ ดังนั้นการจัดประเภทของศูนย์สารสนเทศ จึงต้องเน้นให้สนับสนุนการทำงานทุกระดับ ศูนย์สารสนเทศจึงมีลักษณะที่แบ่งตามประเภทการใช้งานดังนี้

   1.ศูนย์สารสนเทศสนับสนุนการทำงานระดับกลุ่ม จากการใช้งานในระดับเวอร์กกรุ๊ป ที่มีการจัดการเซิร์ฟเวอร์ของตนเองภายในแผนกหรือกลุ่มจึงต้องรับผิดชอบงานทางด้านสารสนเทศของตนเอง เช่น งานแผนกบุคคล ต้องดูแลฐานข้อมูลพนักงานทั้งหมด ดูแลการดำเนินงานเพื่อการทำงานการเงินเดือน แผนกขายก็ต้องดูแลฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลสินค้าคงคลังของตนเอง การกระจายศูนย์สารสนเทศลงไป ในระดับกลุ่มทำให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงาน สามารถดำเนินงานด้วยความคล่องตัว แต่มีปัญหาในเรื่องความซ้ำซ้อนของข้อมูลระหว่างกลุ่ม และยุ่งยากในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสาร
   2.ศูนย์สารสนเทศส่วนกลาง สืบเนื่องจากองค์กรมีการสร้างเครือข่ายหรือมีระบบข้อมูลข่าวสารร่วม ดังนี้ศูนย์สารนิเทศส่วนกลางจึงมีความจำเป็นที่จะทำให้ระบบการใช้ข้อมูล ข่าวสาร ในลักษณะการใช้งานร่วมกัน ทำให้สะดวกขึ้น และยังบริหารเครือข่ายหรือช่วยในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร


ความสำเร็จอยู่ที่การจัดการโครงสร้างในองค์กร

  รูปแบบการบริหารสารสนเทศในองค์กรจึงเป็นได้ ทั้งแบบรวมศูนย์เหมือนในอดีต แต่ในสภาพปัจจุบันความต้องการใช้สารสนเทศมีความหลากหลาย และมีความแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ระดับส่วนตัวจนถึงระดับระหว่างองค์กร ดังนั้นความสำเร็จขององค์กรจึงอยู่ที่ การบริหารและการจัดการโครงสร้างสารสนเทศ ให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานขององค์กร ซึ่งสามารถแยกกระจายตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระหว่างองค์กร การเลือกสภาพที่เหมาะสมต่อการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ


3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


        เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้

        ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล

        ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)

         ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

         ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า

         ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ 

1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5.ช่วยในการจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใช้สารสนเทศ
6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ






 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น