บทที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ


1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 
ตอบ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ


       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ

       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ

ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน

      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ

และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี

ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน

     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์

1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)

2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)

3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)

4. อาชญากรอาชีพ (Career)

5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)

6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)

7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

 2.อธิบายความหมาย 

 ตอบ    2.1 Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ  คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
          2.2 Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
         2.3 สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น

        2.4 ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฎิบัติการ "ล้วงความลับ"เช่น รหัสผ่าน, User Name และข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการ Login ระบบ ที่ถูกพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดโดยผู้ใช้งาน  โดยส่วนใหญ่แฮคเกอร์จะส่งโปรแกรมม้าโทรจัน เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ หรือเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์
 
         2.5 Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย

3.จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง อธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 อย่าง

ตอบ กฎหมายลำดับพระราชบัญญัติที่อยู่ระหว่างการยกร่างหรือพิจารณาในกระบวนการนิติบัญญัติ

กฎหมาย
สถานะปัจจุบัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
สถานภาพ
3 เมษายน 2545 มีผลใช้บังคับ

23 กันยายน 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนสิบสองคน
7 พฤศจิกายน 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ชุดที่สอง
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (แก้ไขเพิ่มเติม)
สถานภาพ
มีผลบังคับใช้แล้ว กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. ....
สถานภาพ
ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. .... ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการในเดือนตุลาคม 2545 นั้น และร่างพระราชบัญญัติฯ ก็ได้มีการกำหนดให้จัดตั้งหน่วยงานอิสระขึ้น จึงได้มีการพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับการปรับ ปรุงโครงสร้างส่วนราชการดังกล่าว ภายหลังจากที่มีการพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแล้ว ทาง วท. จึงได้เสนอร่างดังกล่าวไปยัง ทก. เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ดำเนินการต่อไป
ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการดำเนินการของ กระทรวงICT เพื่อให้มีการพิจารณาไปพร้อมกันกับการปรับโครงสร้างระบบราชการรอบที่สอง แต่ไม่มี่การยืนย้นร่างกฎหมาย (จึงตกไป)
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
สถานภาพ
มีนาคม 2548 สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรวม ร่างพระราชบัญญัติที่ร่างโดยสำนักนายกรัฐมนตรีและของกระทรวง ICT เป็นกฏหมายฉบับเดียว และมีหน่วยงานเดียวเป็นผู้รับผิดชอบ กระทรวง ICT แจ้งไม่ขัดข้องในการรวมร่าง และเห็นสมควรให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งนี้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณารวมร่าง ขณะนี้ร่างภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และครม.มีมติเห็นชอบวันที่ 1 สิงหาคม 2549 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคณะกรรมการกฤษฎีกา รอบที่ 2
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550( กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ )
สถานภาพ
31 ต.ค. 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ได้ รับการโปรดเกล้าฯ ตราเป็นพระราชบัญญัติเรียบร้อยแล้ว และประกาศออกมาเมื่อ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อ 17 กรกฎาคม 2550( 30 วันให้หลัง)
กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
สถานภาพ
ปัจจุบัน ได้มีการชะลองานการจัดทำร่างกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ออกไป เนื่องจากมีความคาบเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมายกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และอาจไม่มีความจำเป็นต้องผลักดันการจัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้อีกต่อไป


2.2 กฎหมายลำดับพระราชกฤษฎีกาที่อยู่ระหว่างการยกร่างหรือพิจารณาในกระบวนการนิติบัญญัติ

กฎหมาย
สถานะปัจจุบัน
พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาใช้บังคับ พ.ศ.2549 (กำหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดก)
สถานภาพ
มีผลบังคับใช้แล้ว 15 มีนาคม 2549
ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการความปลอดภัย พ.ศ. ....
ขณะ นี้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (โดยคณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย) อยู่ระหว่างการพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความมาตรา 25 โดยใช้ชื่อว่าร่างพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการแบบปลอดภัยในการทำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
สถานภาพ
ดำเนิน การยกร่างแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2549 และคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ความเห็นชอบในหลักการเมื่อการ ประชุมครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 และมีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องไปเรียบร้อยแล้ว 4 ครั้ง เพื่อนำข้อสังเกต ข้อเสนอแนะมาปรับแก้ร่างพ.ร.ฎ ดังกล่าว และขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอต่อครม.ต่อไป
ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ร่างพระราชกฤษฎีกากำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....
สถานภาพ
ดำเนินการยกร่างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2548 และคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและภาคธุรกิจเรียบร้อยแล้ว 5 ครั้ง ครม.มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 พย. 2549 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ร่างพระราชกฤษฎีกากำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับ การออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....
สถานภาพ
ดำเนินการยกร่างแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2549 และคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ความเห็นชอบในหลักการเมื่อการ ประชุมครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 และมีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องไปเรียบร้อยแล้ว 4 ครั้ง เพื่อนำข้อสังเกต ข้อเสนอแนะมาปรับแก้ร่างพ.ร.ฎ ดังกล่าว และครม.มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พย. 2549 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549
สถานภาพ
มีผลบังคับใช้แล้ว 10 มกราคม 2550 ใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 4


3. ผลประโยชน์ที่ได้รับ / ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม / ประชาชน

                ตามที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าซึ่งจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยพัฒนา เศรษฐกิจของชาติและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลายประการด้วย กัน อาทิ การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้เป็นแกนกลางสำคัญในการพัฒนา ICT ของประเทศไทย การกำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2553 (IT 2010) ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่

    • การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
    • การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
    • การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
    • การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education)
    • การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)


และเมื่อพิจารณาจากหลักการของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้การดำเนินงานของโครงการฯ ทั้ง 6 ฉบับ อันประกอบด้วย

                กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
      เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์ รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

                กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
                เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้

                กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
      เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวด เร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของ ข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

                กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์       เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของ คอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดกำหนดว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพและการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

                กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์       เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความ เชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มากยิ่งขึ้น

      จากหลักการของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศข้างต้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายทั้ง 6 ฉบับดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ สอดคล้องกับกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาภายใต้กรอบนโยบาย IT 2010 อาทิ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้เกิด e-Government และ e-Commerce ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้นทั้งในแง่ความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยมีกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือสำคัญในการ สร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ในขณะที่กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะกำหนดกรอบของการดำเนิน การต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคในยุคที่การส่งผ่านข้อมูล ส่วนบุคคลสามารถทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น และหากมีการกระทำใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ทั้งต่อปัจเจกชน หรือองค์กรต่างๆ ก็มีกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่กำหนดฐานความผิดและสามารถลงโทษผู้ก่อ อาชญากรรมในรูปแบบใหม่ได้ ซึ่งจะเป็นกฎหมายรากฐานสำคัญที่จะทำให้สังคมสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยต่อผู้ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ การที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่า เทียมกันก็จะเป็นอีกกฎหมายหนึ่งที่จะเป็นเครื่องทั้งของภาครัฐและประชาชนใน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศร่วมกันเพื่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและ การเรียนรู้อันจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมมากขึ้นของประชาชนอันจะนำไปสู่ e-Society ในท้ายที่สุด

บทลงโทษ

ประเด็นที่ 1 เพิ่มนิยาม "ผู้ดูแลระบบ"

         มาตรา 4 เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" หมายความว่า "ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น"

         ในกฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ "ผู้ให้บริการ" ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น "ตัวกลาง" ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น

         สำหรับร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ "ผู้ให้บริการ" อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

         ตามร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ 1.5 เท่า ของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป

 ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี

         สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา 16 ที่ เพิ่มมาว่า "ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

         ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า "แคช" (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว

 ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

         ในมาตรา 25 "ผู้ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

         เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ "การครอบครอง" อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม

 ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา

         มาตรา 24 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

         เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม" เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         หากพิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ "รัฐบาล" ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่จำเป็น


 ประเด็นที่ 5 ดูหมิ่น ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

         มาตรา 26 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการ ดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้น

         ข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ข้อมูลอ้างอิง
http://ccs.sut.ac.th
http://xn--12co0b8ctat9bdd7pqd.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น